Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้49
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้49
mod_vvisit_counterเดือนนี้49
mod_vvisit_counterทังหมด3970878

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
**ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลางภูมิใจเสนอเทคโนโลยี ใหม่ล่าสุดในการทำ LASIK เพื่อการมองเห็นที่ดีที่สุด"Femtosecond Laser(FS200)และSCHWIND AMARIS 750S EXCIMER LASER" เครื่องแรกในประเทศไทย ติดตั้งแล้วที่ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง สนใจติดต่อศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง โทร 0-2220-8000 ต่อ 11641 – 11642

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา

รับมือ"ไวรัส 2009"....ดื้อยา   

หากไม่มีองค์การอนามัยโลกก็พร้อมจะส่งไปช่วยเหลือ ผ่านไปได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ นักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มออกมาเตือนว่าสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 อาจกลายพันธุ์จนดื้อยาทั้ง 2 ชนิด หากเป็นเช่นนั้นมนุษย์จะใช้วิธีใดปราบเชื้อดื้อยาเหล่านี้

ที่ผ่านมายาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ถูกผลิตออกมาหลายแบบ แต่ที่นิยมมี 4 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยาเก่า ได้แก่ อะแมนตาดีน (Amantadine) ไรแมนตาดีน (Rimantadine) กับกลุ่มยาใหม่ คือ โอเซลทามิเวียร์ (olseltamivir) และซานามิเวียร์ (zanamivir)

อย่างไรก็ตาม แพทย์ไม่ค่อยสั่งยาต้านไวรัสให้ผู้ป่วยหากไม่จำเป็น เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวหายได้ภายในไม่กี่วัน ด้วยการนอนหลับ พักผ่อน หรือให้ยาลดไข้ ลดน้ำมูกตามอาการป่วยที่แสดงออกมา ยกเว้นผู้ที่มีอาการหอบหืด ปอดบวม หรือเจ็บหน้าอกอย่างใดอย่างหนึ่ง แพทย์จะสั่งยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพิ่มเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ยาอะแมนตาดีนในกลุ่มยาเก่าเกือบจะยกเลิกการผลิตไปแล้ว เนื่องจากเชื้อไวรัสพัฒนาจนดื้อยาตัวนี้ ดังเช่นไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ถอดรหัสพันธุกรรมออกมาแล้วปรากฏว่าดื้อยาชนิดนี้ องค์การอนามัยโลกจึงสั่งให้ใช้โอเซลทามิเวียร์ เช่นเดียวกับช่วงไข้หวัดนกระบาดเมื่อปี 2547

สถานการณ์ที่องค์การอนามัยโลกหวาดกลัวที่สุดก็เกิดขึ้น เมื่อนักวิจัยรายงานผลสำรวจการเฝ้าระวังเชื้อ เอ/เอช1 เอ็น1 ตั้งแต่ปลายปี 2550-2551 พบเชื้อไข้หวัดใหญ่ เอ/เอช1 เอ็น1 ดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ในอัตราสูงมาก โดยเฉพาะแถบสหภาพยุโรปเดิมพบเพียงร้อยละ 0.5 แต่ปัจจุบันบางประเทศพบสูงถึงร้อยละ 50-70 องค์การอนามัยโลกจึงขอความร่วมมือให้ประเทศต่างๆ ช่วยทำวิจัยการดื้อยาชนิดเดียวกันนี้

ทั้งนี้ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงาน "ผลการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาและการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2551" ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (US-CDC) มีรายละเอียด ดังนี้

เดือนมกราคม-ธันวาคม 2551 นักวิจัยเก็บข้อมูลตัวอย่างจากผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (influenza-like illness) 3,736 ตัวอย่าง จากโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข 10 แห่ง ได้แก่ รพ.แม่สอด, รพ.หนองคาย, รพ.พระปกเกล้า, รพ.หาดใหญ่, รพ.แม่จัน, รพ.เชียงแสน, รพ.เกาะช้าง, รพ.กรุงเทพ-สมุย, รพ.เกาะสมุย และศูนย์บริการสาธารณสุข 17 กรุงเทพมหานคร จากนั้นนำมาแยกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และวิเคราะห์หาสายพันธุ์และการดื้อยา จนพบเชื้อไวรัสดื้อยาโอเซลทามีเวียร์ 16 ราย จากทั้งหมด 71 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

โดยแบ่งการตรวจเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างมกราคม-มีนาคม ไม่พบเชื้อดื้อยาทามิฟลูจาก 34 ตัวอย่าง ช่วงที่ 2 เมษายน-มิถุนายน พบเชื้อดื้อยา 2 รายจากการสุ่มตรวจ 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 ช่วงที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน พบเชื้อดื้อยา 5 รายจาก 9 ราย หรือร้อยละ 55 ช่วงที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม พบเชื้อดื้อยา 9 รายจาก 12 ราย เพิ่มสูงถึงร้อยละ 75 ทั้งนี้ ผู้ดื้อยาทั้ง 16 รายอาศัยอยู่ทั่วทุกภูมิภาค แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 5 ราย สุราษฎร์ธานี 5 ราย สงขลา 4 ราย หนองคาย 1 ราย และตาก 1 ราย

บทสรุปในรายงานข้างต้นมีเนื้อหาว่า "ผลการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ดื้อยาปี 2551 ชี้ให้เห็นว่าเชื้ออินฟลูเอนซา เอ/เอช1 เอ็น1 ในประเทศไทยได้ดื้อต่อยาโอเซลทามิเวียร์ ในสัดส่วนที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าร้อยละ 50 ใน 6 เดือนหลังของปี และกระจายอยู่ทุกภูมิภาค นับเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงว่า การรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่ติดเชื้ออินฟลูเอนซา เอ/เอช1 เอ็น1 ด้วยยาโอเซลทามิเวียร์อาจจะไม่ได้ผลดีอย่างในอดีต ดังนั้น แพทย์ควรติดตามข้อมูลเฝ้าระวังเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ดื้อยาอย่างต่อเนื่อง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ในการวางแผนให้การรักษาและสั่งยาต้านไวรัสให้แก่ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่อย่างเหมาะสม"

ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า รู้สึกเป็นกังวลมาก กลัวว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 จะพัฒนาตัวเองให้ดื้อยาไปเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อยาอะแมนตาดีนแล้ว เชื่อว่าอีกไม่นานคงพบผู้ป่วยดื้อยาโอเซลมิทาเวียร์ และอาจพัฒนาสายพันธุ์ไปจนถึงขั้นดื้อยาซานามิเวียร์ด้วย หากเป็นเช่นนั้นจริงคนไข้ที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หายใจไม่ออก จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

"ถ้าแพทย์เจอคนไข้ดื้อยากลุ่มใหม่ทั้ง 2 ตัวจริงก็อาจทดลองใช้ยาสูตรผสม คือ โอเซลมิทาเวียร์กับไรแมนตาดีน หรือสลับไปมาระหว่างยา 3 ชนิด คงต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง" ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อกล่าว

ล่าสุด นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เตรียมวางแผนสำรองสั่งซื้อยาซานามิเวียร์ไว้แล้ว หลังจากองค์การอนามัยโลกออกมาเตือนเรื่องภาวะการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรสำรองในปริมาณเท่าไร เนื่องจากเป็นยาพ่นทางปากราคาชุดละ 900 บาท

ขณะที่ ตัวแทนบริษัท แกล็กโซสมิทไคลน์ (ประเทศไทย) ผู้ผลิตยาซานามิเวียร์ ให้ข้อมูลว่า บริษัทกำลังเร่งผลิตยาให้ได้ 50-60 ล้านชุดต่อปี หลังจากองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆ เพิ่มสัดส่วนการสำรองยาต้านไวรัสซานามีเวียร์ โดยสหรัฐเพิ่ม 20% อังกฤษ 30% มาเลเซีย 30% สิงคโปร์ 7% บรูไน 5% พร้อมกันนี้บริษัทยังพิจารณาลดราคาให้กระทรวงสาธารณสุขไทยเหลือเพียงชุดละ 450 บาท จากเดิม 900 บาท

 

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : [email protected]

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา