Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้85
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้643
mod_vvisit_counterเดือนนี้3700
mod_vvisit_counterทังหมด3970483

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

ภาวะสายตาผิดปกติ/วิธีการรักษา

**ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลางภูมิใจเสนอเทคโนโลยี ใหม่ล่าสุดในการทำ LASIK เพื่อการมองเห็นที่ดีที่สุด"Femtosecond Laser(FS200)และSCHWIND AMARIS 750S EXCIMER LASER" เครื่องแรกในประเทศไทย ติดตั้งแล้วที่ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง สนใจติดต่อศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง โทร 0-2220-8000 ต่อ 11641 – 11642

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา

 

 

ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลางก่อตั้งเพื่อเป็นศูนย์ตรวจและรักษาสายตาของกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์

ให้บริการประชาชนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันและราคาประหยัดเน้นการดูแลรักษาพยาบาล

อย่างมีคุณภาพและคุณธรรมโดยทีมจักษุแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากด้วย

ประสบการณ์อย่างแท้จริง บริการดุจญาติมิตรเหนือความประทับใจที่พร้อมให้คำแนะนำทุกขั้นตอน

ตั้งแต่ก่อนและหลังการรักษาและรับปรึกษาดูแลตาของท่านทุกระยะเวลา

 

ศูนย์เลสิก โรงพยาบาลกลา ยินดีให้การรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ โดยทีมจักษุแพทย์ และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมให้คำแนะนำทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนและหลังการรักษา เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน สู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ภาวะสายตาผิดปกติ คือ...

โดยปกติการมองเห็นเกิดจากการที่แสงตกกระทบที่ผิวกระจกตา แล้วเกิดการหักเหโฟกัสไปที่จอประสาทตาพอดี ภาพที่มองเห็นจึงมีความชัดเจน ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกล แต่หากความโค้งของกระจกตา หรือความยาวของลูกตา มากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เกิดความผิดปกติ ดังนี้

 

สาเหตุของสายตาผิดปกติ

1. สายตาสั้น (Myopia)

เกิดจากความโค้งของกระจกตามาก หรือขนาดของลูกตายาวเกินไป ทำให้แสงโฟกัสก่อนถึงจอประสาทตา ภาพที่มองเห็นจึงชัดเจนในที่ใกล้มากกว่าไกล

 

 

myopia_ok.jpg

 

 

2. สายตายาว (Hyperopia)

เกิดจากความโค้งของกระจกตาน้อย หรือขนาดของลูกตาเล็กเกินไป ทำให้แสงโฟกัสหลังจอประสาทตา ภาพที่มองเห็นจึงไม่ชัดเจนในที่ใกล้

hyperopia_ok.jpg

 

3.สายตาเอียง (Astigmatism)

เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ทำให้แสงโฟกัสที่จอประสาทตาไม่เป็นจุดเดียว จึงมองเห็นเป็นภาพซ้อน อาจเกิดร่วมกับสายตาสั้นหรือสายตายาวก็ได้

 

 

astigmatism_ok.jpg

 


การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ที่ได้รับความนิยม

LASIK (Laser Assisted In Situ Keratomileusis)

คือการแยกชั้นกระจกตาด้วยเครื่องมือ Microkeratome แล้วใช้เลเซอร์ปรับเปลี่ยนความโค้งของผิวกระจกตาด้านล่าง จากนั้นทำการปิดชั้นกระจกตาด้านบนกลับที่เดิม โดยไม่ต้องเย็บ

image08.jpg

PRK (Photorefractive Keratectomy)

คือ การขูดผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออก โดยไม่ต้องแยกชั้นกระจกตา แล้วใช้เลเซอร์ปรับเปลี่ยนความโค้งของผิวกระจกตา จากนั้นใส่คอนแทคเลนส์ปิดไว้เพื่อช่วยสมานแผล ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวไม่มาก ผู้ที่มีกระจกตาบางหรือบุคคลบางอาชีพ

image08.jpg

การแก้ไขสายตาทั้งสองวิธีนี้ จะมีการหยอดยาชา จึงไม่มีความเจ็บปวด อีกทั้งใช้เวลาในการยิงเลเซอร์เพียงไม่กี่นาที และยังสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลาอันรวดเร็ว

ผู้ที่เหมาะสมรับการรักษาด้วย LASIK

ควรมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

มีค่าสายตาคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 50 (0.5D) อย่างน้อย 1 ปี

ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น ภาวะตาแห้งอย่างรุนแรง โรคอักเสบเรื้อรังในลูกตา โรคเบาหวาน

กลุ่มโรครูมาตอยด์ SLE

มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์

การเตรียมตัวเพื่อตรวจประเมินสายตา

เป็นขั้นตอนการตรวจประเมินว่า มีความเหมาะสมในการรักษาด้วยเลสิกหรือไม่ โดย

ใช้เวลาตรวจประมาณ 2-3 ชั่วโมง ผู้ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม ควรถอดอย่างน้อย 7 วัน

ผู้ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง ควรถอดอย่างน้อย 1 เดือน

วันที่มาตรวจประเมินสายตา ควรพาญาติมาด้วย เนื่องจากมีการหยอดยาขยายม่านตา

จะทำให้ตาพร่ามัวสู้แสงจ้าไม่ได้ราว 4-6 ชั่วโมง และควรนำแว่นกันแดดมาด้วย

การวิเคราะห์สายตาก่อนการรักษา

เมื่อคุณตัดสินใจทำการรักษา จะต้องผ่านการตรวจโดยจักษุแพทย์ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ตรวจวัดการมองเห็น

ตรวจวัดความดันลูกตา

ตรวจสภาพจอประสาทตา

ตรวจวัดความโค้งกระจกตาส่วนหน้าและส่วนหลัง (Schwind Sirius)

ตรวจวัดความหนาของกระจกตา (Pachymetry)

วิเคราะห์สภาพสายตา (Wavefront Analyzer)

ตรวจวัดปริมาณน้ำตา (Schirmers Test)

 


เครื่องเลเซอร์ SCHWIND Amaris 750 S

05_1.jpg

img_3935.jpg

เทคโนโลยีเครื่อง Excimer Laser ที่โรงพยาบาลกลางใช้ คือ SCHWIND Amaris 750 S เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด มีความเร็วในการยิงเลเซอร์สูงที่สุดในปัจจุบัน ให้ประสิทธิภาพในการรักษาและความปลอดภัยสูงสุด โดยจุดเด่นของเครื่อง SCHWIND Amaris 750 S มีดังนี้

เลเซอร์ยิงด้วยความเร็วสูงถึง 750 ครั้งต่อวินาที พร้อมรูปแบบการยิงพิเศษ

(Automatic Fluence Level Adjustment) ที่มีความแม่นยำสูง และยังช่วยลดระยะเวลาในการยิง

เลเซอร์อีกด้วย

มีระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกตามากถึง 6 ทิศทาง ด้วยความเร็ว 1050 ครั้งต่อวินาที

เพื่อปรับลำแสงเลเซอร์ตามการเคลื่อนไหว จึงมั่นใจได้ว่าเลเซอร์จะตกตามตำแหน่งที่ต้องการ

ด้วยลำแสงเลเซอร์ที่มีขนาดเล็กเพียง 0.54 มิลลิเมตร (Super-Gaussian Beam) พร้อมระบบควบคุม

ความร้อนจากการยิงเลเซอร์ (Intelligent Thermal Effect Control) ทำให้ได้พื้นผิวกระจกตาที่เนียน

และฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

มีระบบติดตามเพื่อวัดความหนาของกระจกตา ตลอดการยิงเลเซอร์ (Integrated Online Pachymetry)

เพื่อความปลอดภัยในการรักษา

ทำงานควบคู่กับเครื่อง Combi Wavefront Analyzer เพื่อตรวจสภาพพื้นผิวกระจกตา และการรับภาพ

อย่างละเอียด

 

ตาเป็นอวัยวะรับรู้ส่วนแรกของชีวิต โดยแสงที่เข้าตา จะสร้างภาพที่จอประสาทตา การมองที่มัวลงหมายถึงคุณภาพชีวิตที่แย่ลง

หากท่านต้องการการมองเห็นที่ชัดเจนทันทีที่ลืมตาขึ้น และหวังจะเล่นกีฬาใดๆ แม้แต่ดำน้ำโดยไม่ต้องใช้แว่นตา LASIK คือสิ่งที่ท่านต้องการกว่า 10 ปีที่คนนับล้านทั่วโลกประสบความสำเร็จจากการทำ LASIKและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

image012.png

**ขอเชิญรับคำปรึกษาเบื้องต้นจากจักษุแพทย์

เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาด้วยแสงเลเซอร์เหมาะกับท่านอย่างแท้จริง**

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : [email protected]

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา